ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) เป็นกรอบความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอาเซียนทั้ง 10 ชาติ โดยมีความมุ่งหมายในการสร้างความแข็งแกร่ง ทางเศรษฐกิจร่วมกัน กล่าวคือ การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตรวม เพื่อเพิ่มอำนาจในการเจรจา ทางการค้าได้ดีขึ้นกว่าการเจรจาการค้าแบบทวิภาคี นอกจากนั้น การเปิดเสรีให้เคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงาน และเงินทุนได้อย่างเสรีภายในภูมิภาคจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทางเศรษฐกิจของอาเซียนในเวทีโลก จากกลยุทธ์ของ AEC ดังกล่าว จึงนำมาสู่การปรับปรุงนโยบายและระบบภาษีของประเทศในแต่ละประเทศให้สามารถรองรับบริบททางด้านการค้า การลงทุนที่จะเปลี่ยนแปลงไป
สำหรับประเทศไทย ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาได้ดำเนินนโยบายที่สนับสนุนกิจกรรมของอาเซียนมา โดยตลอด กรมสรรพสามิตในฐานะกรมจัดเก็บภาษีที่สำคัญของประเทศซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ อย่างใกล้ชิดกับการค้าการลงทุนทั้งในประเทศและข้ามพรมแดน ได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ AEC ในปลายปี 2558 นี้มาโดยตลอด โดยจัดให้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการสนับสนุนอย่าง เต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการปรับนโยบายของกรมสรรพสามิตเพื่อรองรับการเปิดเสรีเศรษฐกิจอาเซียน เช่น การเร่งรัดและให้ความสำคัญกับการอำนวยความสะดวกการค้าระหว่างพรมแดน อาทิ การคืนภาษี การปรับปรุงโครงสร้างภาษีสุรา ภาษียาสูบ การคำนวณฐานภาษีใหม่ในระบบ mixed system เพื่อเพิ่ม การจัดเก็บภาษีของกรมและเป็นธรรมกับผู้ประกอบการมากขึ้น
กรมสรรพสามิตจึงมีนโยบายในการปฏิรูปกฎหมายภาษีสรรพสามิตให้เป็นระบบและมีความทันสมัย ในรูปแบบของประมวลกฎหมายภาษีสรรพสามิต รวมทั้งนโยบายในการพัฒนาระบบการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตที่มีมาตรฐานสากล เพื่อรองรับการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นี้ โดยได้ดำเนินการ