รายละเอียดแยกตามประเทศสมาชิกอาเซียน
เปรียบเทียบการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของประเทศสมาชิกอาเซียน
กรมจัดเก็บภาษีของประเทศสิงคโปร์ (The Inland Revenue Authority of Singapore (IRAS)) เป็นองค์กรที่ดูแลการจัดเก็บภาษีให้กับรัฐบาลแห่งประเทศสิงคโปร์ กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีให้กับรัฐบาลมากกว่าร้อยละ 70 ของรายได้จากการดำเนินงานของรัฐบาลซึ่งสนับสนุนโครงการทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลให้บรรลุเป้าหมายและเติบโตอย่างมีคุณภาพ นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการเจรจาทำสนธิสัญญาภาษีกับต่างประเทศ การร่างกฎหมายภาษี และการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการประเมินค่าทรัพย์สินให้แก่รัฐบาล
กรมจัดเก็บภาษีมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเก็บภาษีเงินได้ ภาษีทรัพย์สิน ภาษีสินค้าและบริการ ภาษีอสังหาริมทรัพย์ (สำหรับการตายที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551) ภาษีการพนัน และอากรแสตมป์ การเก็บภาษีของกรมสรรพากรเหล่านี้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 72.9 ของรายได้จากการดำเนินงานของรัฐบาลสำหรับปีงบประมาณ 2556/2557
สำหรับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของประเทศสิงคโปร์ (Goods & Services Tax ) มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ กล่าวคือประเภทสินค้า |
จุดความรับผิด |
ฐานภาษี |
รถยนต์ |
จุดนำเข้าสินค้า |
CIF |
ยาสูบ |
จุดนำเข้าสินค้า |
ตามปริมาณ |
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ |
จุดนำเข้าสินค้า |
ตามปริมาณ |
ปิโตรเลียม และสินค้าปิโตรเลียม |
จุดนำเข้าสินค้า |
ตามปริมาณ |
สถานบริการ เช่น ผับ เลาจน์ คาราโอเกะ |
จุดชำระค่าบริการ |
ไม่ระบุ |
บ่อนการพนัน |
จุดรับเงินรางวัล |
รางวัลที่ได้รับ |
ตัวอย่าง การคำนวณภาษีสรรพสามิตของประเทศสิงคโปร์
1) สุราที่ทำให้มึนเมา
ภาษีที่ต้องเสีย = ปริมาณรวมลิตร x อัตราภาษีศุลกากรและ/หรืออัตราภาษีสรรพสามิต x ร้อยละของความแรงของแอลกอฮอล์
ตัวอย่างเช่น บริษัท A นำเข้าสุราที่มีความแรงของแอลกอฮอล์ร้อยละ 5 จำนวน 75 ลิตร สมมติว่าภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิตสำหรับความแรงของแอลกอฮอล์ คือ 16 ดอลล่าร์สิงคโปร์ และ 60 ดอลล่าร์สิงคโปร์ต่อลิตรของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามลำดับ
ตามที่ภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิตจะเรียกเก็บจากการนำเข้าสุราตามความแรงของแอลกอฮอล์ ดังนั้น
ภาษีที่ต้องเสีย = 75 x (S$ 16+60) x 5% = S$285
ภาษีที่ต้องเสีย = น้ำหนักทั้งหมด (กิโลกรัม) x อัตราภาษีสรรพสามิต
ตัวอย่างเช่น บริษัท A นำเข้ายาสูบน้ำหนัก 100 กิโลกรัม สมมติว่าอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับผลิตภัณฑ์ยาสูบคือ 352 ดอลล่าร์สิงคโปร์ต่อกิโลกรัม
ภาษีที่ต้องเสีย = 100 x 352 = S$ 35,200
ภาษีที่ต้องเสีย = จำนวนมวนทั้งหมด x น้ำหนักต่อมวน (ทุกกรัมหรือเศษของกรัม) x อัตราภาษีสรรพสามิต
ตัวอย่างเช่น บริษัท A นำเข้าบุหรี่จำนวน 100 มวน น้ำหนัก 1.5 กรัมต่อมวน สมมติว่าอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับผลิตภัณฑ์บุหรี่คือ 38.8 เหรียญสิงคโปร์ต่อกรัมหรือเศษของกรัมต่อมวน โดยที่น้ำหนักต่อมวนของบุหรี่อยู่ระหว่าง 1 และ 2 กรัม น้ำหนักที่นำมาคำนวณภาษีที่ต้องเสีย คือ 2 กรัมดังนั้น
ภาษีที่ต้องเสีย = 100x 2 x S$ 0.388 = S$77.60
ภาษีที่ต้องเสีย = มูลค่าภาษีศุลกากร x อัตราภาษีสรรพสามิต
ตัวอย่างเช่น บริษัท A นำเข้ารถยนต์ซึ่งซื้อมาในราคา 100,000 ดอลล่าร์สิงคโปร์ โดยวิธีการนำเข้าแบบ FOB (Free on Board) โดยมีค่าขนส่งระหว่างประเทศ, ค่าการจัดการและค่าใช้จ่ายการประกันที่จะจัดส่งรถไปสิงคโปร์เป็นเงิน 1,000 ดอลล่าร์สิงคโปร์ สมมติว่าภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์คืออัตราร้อยละ 20 ของมูลค่าภาษีศุลกากร
มูลค่าภาษีศุลกากรสำหรับรถยนต์ = 101,000 ดอลล่าร์สิงคโปร์ภาษีที่ต้องเสีย = 101,000 x 20% = S$ 20,200
ภาษีที่ต้องเสีย = น้ำหนักทั้งหมด x อัตราภาษีสรรพสามิต
ตัวอย่างเช่น บริษัท A นำเข้าน้ำมันไร้สารตะกั่วที่มีค่าออกเทนสูงกว่า 97 (RON 97) จำนวน 100 ลิตร สมมติว่าอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันไร้สารตะกั่วที่มีค่าออกเทนสูงกว่า 97 (RON 97) คือ 7.10 ดอลล่าร์สิงคโปร์ต่อเดคาลิตร (1 เดคาลิตร =10 ลิตร)
ภาษีที่ต้องเสีย = S$7.10 x 10 = S$71